วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Assignment 4





(1).ต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับเครื่อง Desktop



Answer :               ควรเลือกใช้แบบสายทองแดงแบบ UTP เนื่องจากเป็นสายที่ติดตั้งได้ง่าย มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูงและราคาถูก  มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP นั้นมีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก  ในปัจจุบันเป็นสายสัญญาณที่ได้รับความนิยมในการใช้งานในระบบเครือข่ายมากที่สุด 
ข้อเสียของสายสัญญาณประเภทนี้คือ  ป้องกันสัญญาณการรบกวนได้ไม่ดี ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย และมีระยะทางจำกัด


 (2.)  ต้องการให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อระหว่างวงแลนมีความเร็วสูง




Answer :          ควรเลือกใช้แบบสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)  เพราะมีประสิทธิภาพในด้านความเร็วดีกว่าทองแดงและเป็นสายสัญญาณที่มีความเร็วสูงที่สุดในการเชื่อมต่อ ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าและ  ยังมีระยะทางการส่งข้อมูลได้ไกลในปริมาณที่สูง  
ข้อเสียคือ มีราคาแพงกว่าสายส่งสัญญาณแบบทองแดง ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้งและมีค่าใช่จ่ายในการติดตั้งสูง


(3).ระยะทางที่สายสัญญาณเดินทางผ่านต้องผ่านเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า


  
Answer :          ควรเลือกสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable) เนื่องจากเป็นการส่งสัญญานด้วยแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนจึงทำให้สายชนิดนี้สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะไกล

(4).ต้องการระบบที่ง่ายต่อการตรวจสอบ และ ซ่อมบำรุงกรณีเกิดปัญหาการเชื่อมต่อ



Answer :         ควรเลือกใช้แบบสายทองแดง เพราะ การติดตั้งและบำรุงรักษาได้ง่าย สามารถควบคุมจุดการเชื่อมต่อและการแพร่กระจายของข้อมูลได้ดี ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบ อุปกรณ์สามารถหาได้ง่ายทั่วไป ราคาติดตั้งมีราคาถูกกว่าแบบสายใยแก้วอีกด้วย


(5).รองรับการเพิ่มจุดการเชื่อมต่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ notebook 

      เพิ่มเติมอย่างน้อย 4 เครื่อง





Answer :        ควรเลือกใช้แบบสายทองแดง สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)  เนื่องจากสามารถควบคุมคุมการเชื่อมต่อ การแพร่กระจายของข้อมูล และที่สำคัญสามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี ได้รับความนิยมในการใช้งาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น