วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Assignment 6



~Domainname คืออะไร............






 >>ชื่อที่ใช้เรียก Website ของคุณ EX :(http://www.yourdomain.com)
 ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันกับชื่อผู้ที่จดมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยสามารถตรวจสอบชื่อโดเมนเนมได้ ในเมนู “ตรวจสอบโดเมนเนม”ชื่อเว็บไซต์ จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหา ภาพ และ รูปแบบของเว็บไซต์ หรือจะระบุเป็นชื่อเจ้าของเว็บไซต์ก็ได้ เปรียบเสมือนนามบัตร อิเลคทรอกนิค เพื่อให้ผู้ที่สนใจ เกี่ยวกับบริการของลูกค้า ได้รู้จักบริการหรือตัวท่านเองได้มากขึ้น


 หลักการตั้งชื่อเว็บไซด์




>> การตั้งชื่อเว็บไซต์ ควรตั้งชื่อให้สั้นๆ ได้ใจความ หรือเป็นตัวย่อของบริษัท หรือ ชื่อของคุณเองก็ได้ เช่น SMHosting ซึ่ง SM เป็นตัวย่อ Hosting บ่งบอกถึงการให้บริการ ด้านเว็บไซต์ เป็นต้น




< ข้อควรรู้ก่อนจด โดเมนเนม >


- ความยาวของชื่อ โดเมนเนม สามารถตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
- โดเมนเนม จะต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น
- กรณีที่เป็น โดเมนเนมของบริษัท จำเป็นต้องจดภายใต้ชื่อของบริษัทเท่านั้น ห้ามใช้ชือของพนักงานของบริษัทนั้นๆ
- ข้อมูลที่สำคัญที่สุด ของ โดเมนเนม คือ รายละเอียดของผุ้ที่จดโดเมนเนม
- กรุณาใช้ Email ที่คุณใช้เป็นหลัก เพราะเป็นทางเดียวที่จะติดต่อกับคุณ ในกรณี โดเมนเนม หมดอายุ
- กรุณาบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ โดเมนเนมของคุณไว้ให้ดี เช่น วันหมดอายุ, ผู้มาติดต่อ, อื่นๆ

การจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) มี 2 รูปแบบ

1). จดทะเบียนโดเมนเนมภายนอกประเทศ
>>การจดทะเบียนโดเมนเนมภายนอกประเทศ จะมีให้เลือกอยู่หลายนามสกุล เช่น .Com .Net .Org เป็นต้น
- โดเมนเนม นามสกุล .Com (ผู้ใช้ส่วนใหญ่จดทะเบียนนี้) เนื่องจากเป็น นามสกุลที่เหมาะสำหรับ บริษัท ห้างร้าน หรือ เว็บไซต์สวนตัว หรือบางครั้ง ก็สามารถนำไปใช้ในการทำเว็บไซต์ประเภทอื่นๆ ก็ได้
- โดเมนเนม นามสกุล .Net ใช้สำหรับทำเว็บไซต์ประเภทผู้ให้บริการด้าน Network หรือ Internet เป็นต้น
- โดเนมเนม นามสกุล .Org ใช้สำหรับ หน่วยงานองค์กร หน่วยงานราชการ บางครั้งก็จดเพื่อใช้ทำเว็บไซต์ประเภทอื่นๆ

2). จดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศไทย
>>การจดทะเบียนโดเมนเนมภายในประเทศไทย จะมีให้เลือกอยู่หลายนามสกุล เช่น .in.th, .co.th, .go.th, .ac.th
(โดเมนเนมเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีเอกสารในการประกอบการจด โดเมนเนมด้วย เนื่องจากเป็นนามสกุล ที่ใช้ในหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เช่น .Co.th จะต้องจดในนามบริษัทเท่านั้น โดยจำเป็นต้องส่งเอกสาร นิติบุคคล หรือ เอกสารเกี่ยวกับบริษัท เพื่อยืนยัน การมีตัวตนของบริษัท)




วิธีการ สมัครโดเมนเนมฟรี .Co.Cc

>>.Co.Cc คือ โดเมนเนมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีผู้ใช้มากมาย ที่สนใจที่อยากมีเว็บไซต์แต่ไม่มีทุนในการจดโดเมนเนม .Com, .Net, หรือ .Org เป็นต้น ซึ้งหลายคนคงคิดว่า แค่ลองทำเว็บไซต์ ไม่มั่นใจว่าจะมีผู้สนใจมากน้อยเพียงใด ทำให้มีผู้ที่สนใจ ใช้ โดเมนเนมฟรีๆ โดยทางเว็บไซต์ .Co.Cc ได้เปิดให้บริการจด โดเมนเนม .Co.Cc ฟรี จำนวน 2 โดเมนเนม ต่อ 1 Username


วิธีการสมัครใช้บริการ .Co.Cc


เข้าไปที่ http://www.co.cc/




คลิ๊กที่ Create an account now (เพื่อสมัครเป็นสมาชิกของ .Co.Cc สำหรับการใช้งาน)




  





กรอกข้อมูลต่างที่แบบฟอร์มต้องการ

1. First Name: ชื่อจริง
2. Lastname: นามสกุล
3. Birthday: วันเดือนปี เกิด (เป็น ค.ศ.)
4. Email Address: อิเมล ที่ใช้ในการติดต่อเจ้าของโดเมนเนมให้ได้ง่าย
5.Enter a password: กรุณากรอก พาสเวิร์ด ที่สามารถจำได้ง่าย
6.Word Verification: ระบบรักษาความปลอดภัย กรุณา ใส่ข้อความตามภาพที่กำหนดให้ข้างๆ
7. I accept the terms of service: ติ๊กเพื่อ ยอมรับข้อตกลง
8. Continue เพื่อยอมรับ และไปขั้นตอนต่อไป




ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง แล้วกด Continue





หลังจากนั้นให้พิมพ์ ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ พร้อมกับกด "Check Availability"






กรณีที่ 1
ถ้าหาก ชื่อเว็บไซต์ที่ คุณตั้ง ยังไม่มีผู้ใดใช้ ก็จะให้กด "Continue to registration" เพื่อสมัคร ใช้ โดเมนเนม ที่คุณต้องการได้ทันที





กรณีที่ 2
ถ้าชื่อโดเมนเนมที่คุณตั้ง มีผู้ใช้อยู๋แล้ว ก็จะเป็นแบบนี้ครับ ให้ Back กลับไป แล้วตั้งชื่อ โดเมนเนมใหม่อีกครั้ง






จากกรณีที่ 1
    เมื่อเรายืนยันการสมัคร โดเมนเนมสำเร็จก็จะขึ้นแบบนี้ครับ ให้เรากด Setup เพื่อเชื่อมต่อ DNS กับ โดเมนเนมให้สามารถใช้ ชื่อโดเมนเนมนี้ ในการเรียกใช้เว็บไซต์ของเราได้ทันที






เมื่อกด Setup ให้เราสังเกตุว่า จะมีวันหมดอายุของ โดเมนเนม อยู่ "ปี-เดือน-วัน"





หลังจากนั้นให้เลือกข้อที่ 1 Name Server หรือ NS
ให้เราพิมพ์ Name Server 1: ns1.fgzhost.com และ Name Server2 : ns2.fgzhost.com แล้วกด Setup
*หมายเหตุ หลังจากการที่เรากด Setup เสร็จแล้ว ระบบจะทำการเชื่อต่อกับโดเมนเนมของท่านภายใน 48 ชั่วโมง หรืออาจจะเร็วกว่านั้น








<อัตราค่าบริการโดเมนเนม>








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น